วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พลังงานแสงอาทิตย์: พลังงานหมุนเวียนที่ไทยไม่ควรมองข้าม




ภาวะโลกร้อน และราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ "พลังงานแสงอาทิตย์" ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) สะอาดได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ มีการใช้ที่แพร่หลายขึ้น แม้ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ยังคิดเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับพลังงานในรูปแบบอื่น กระนั้น ก็เป็นเทคโนโลยีพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุดโดยมีอัตราการเติบโตของโลกเฉลี่ยร้อยละ 48 ต่อปีนับแต่ปี 2545 เป็นต้นมา

การพัฒนาของตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ของโลก
การเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตแผง/เซลล์แสงอาทิตย์ในช่วงที่ผ่านมามีข้อจำกัดจากอุปทานของวัตถุดิบ ปัจจุบันการผลิตถูกจำกัดโดยอุปทานของวัตถุดิบ (โพลีซิลิคอน) ซึ่งตั้งแต่ปี 2549 มีความขาดแคลน ส่งผลให้ราคาโพลีซิลิคอนซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้บริษัทผู้ผลิตบางส่วนหันไปหาการผลิตโซลาร์เซลล์แบบฟิลม์บาง (thin film) ที่เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่มีการพึ่งพาโพลีซิลิคอนต่ำกว่าการผลิตแบบ crystalline

อุตสาหกรรมการผลิตแผง/เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย.. เป็นการผลิตเพื่อมุ่งส่งออกเนื่องจากตลาดภายในประเทศมีขนาดและการเติบโตที่จำกัด แม้ว่าด้วยลักษณะสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์จากแสงแดด แต่ปัจจุบันยังมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อยู่เป็นจำนวนน้อย ในปี 2550 ไทยมีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพียง 32.3 เมกะวัตต์ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 10.5 หรือประมาณ 3.4 เมกะวัตต์เป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับระบบ (grid-connected) ในขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.6 หรือ 26 เมกะวัตต์เป็นการผลิตไฟฟ้าในบริเวณที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

เนื่องจากตลาดในประเทศมีขนาดและการขยายตัวที่จำกัด การผลิตแผง/เซลล์แสงอาทิตย์ในไทยส่วนใหญ่จึงเป็นการผลิตเพื่อส่งออก ในปี 2550 ไทยมีการส่งออกสินค้าในหมวดนี้เป็นมูลค่ารวม 213.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของการส่งออกของทั้งโลก โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ กลุ่มประเทศยุโรป อาทิ เยอรมัน ฮังการี และสหรัฐฯ

ด้านการผลิต สถานการณ์การขาดแคลนโพลีซิลิคอนซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ทำให้ความสามารถในการจัดซื้อวัตถุดิบเป็นข้อจำกัดของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยผู้ผลิตต้องทำสัญญาจัดซื้อระยะยาวซึ่งต้องมีเงินทุนในการชำระล่วงหน้าเพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้

โอกาสและปัจจัยที่จะมีผลต่อการเติบโตของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ของไทย

แนวโน้มตลาดภายในประเทศ.. การเติบโตของตลาดภายในประเทศขึ้นอยู่กับนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ตลาดภายในประเทศไทยค่อนข้างจำกัด โดยไทยมีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 1-3 เมกะวัตต์ต่อปี ประเทศไทยมียุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทนของไทยช่วง 5 ปี (2551-2554) โดยได้มีการตั้งเป้าหมายในส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นเป็น 45 เมกะวัตต์จากเดิม 32.25 เมกะวัตต์
รัฐมีมาตรการสนับสนุนธุรกิจและส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์โดยมีการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบและการให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (ค่า adder) เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ยังอยู่ในระดับที่สูง การเพิ่มแรงจูงใจจึงเป็นตัวกระตุ้นตลาดในประเทศที่สำคัญ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าตลาดที่มีศักยภาพของธุรกิจ คือ การติดตั้งแผงโซลาร์บนอาคารธุรกิจ/โรงงาน/รีสอร์ทและโรงแรม สำหรับตลาดอื่นๆ หากรัฐมีการสนับสนุนมากเพียงพอก็น่าจะทำให้มีการลงทุนสร้างโซลาร์ฟาร์มเพื่อขายไฟฟ้าเข้าระบบและการติดตั้งแผงโซลาร์ของครัวเรือนแพร่หลายมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Harry Harry!!!

ช่วงนี้กระแสภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับ เจ้าชายเลือดผสม เริ่มทยอยความตื่นเต้นให้

เหล่าบรรดาแฟนๆทุกขณะเลย หลังจากที่ตัวอย่างภาพยนตร์ภาคล่าสุดได้ออกมา ก็นับว่าสร้าง

ความตื่นตัว และ แสดงถึงการรอคอยของพวกเราคืออีกไม่ช้านี้เช่นกัน แต่กระนั้นก็มีข่าวคราว

การเลื่อนกำหนดการเข้าฉายภาพยนตร์ภาคล่าสุดนี้ไปเป็นปีหน้า กินเวลาเลื่อนไปกว่า 240 วัน
โอ้แม่เจ้า... T T อย่างไรก็ตาม เหล่าบรรดาแฟนๆต่างยังคงใจจดใจจ่อกับแถลงการณ์จาก

วอร์เนอร์ บราเดอร์ ต่อไปและ/หรือบางที อาจจะมีสิ่งที่เรียกว่าเวทมนตร์ บันดาลให้ภาพยนตร์ภาคล่าสุดกลับมาฉายตามกำหนดเดิมก็

เป็นได้ T^T


Storm Surge ​ในอ่าว​ไทยตอนบน



Storm surge คือ ปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อน ที่ยกระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นกว่าปกติ อันเนื่องมาจากความกดอากาศต่ำที่ปกคลุม ณ บริเวณนั้น ซึ่งเวลาที่หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวผ่านไปพร้อมกับศูนย์กลางของพายุ ทำให้แรงกดนั้นยกระดับน้ำจนกลายเป็นโดมน้ำขึ้นมา โดยเคลื่อนตัวจากทะเลซัดเข้าหาชายฝั่ง






เชื่อหรือไม่ว่า ปรากฎการณ์ Storm Surge เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้ว! และเคยเกิดบ่อยครั้งด้วย ซึ่งแต่ละครั้งก็นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง....



ย้อนกลับไปเมื่อปี 2532 เกิดพายุไต้ฝุ่น เกย์ (คุ้นๆ ใช่ไหมล่ะ) พัดถล่ม จังหวัดชุมพร มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ต่อมาปี 2540 พายุลินดา ก็พัดซ้ำรอยเดิม ใน จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตน้อยกว่า ทว่าก็สร้างความเสียหายมากครั้งหนึ่งเช่นกัน และครั้งสำคัญในปี 2505 พายุที่แหลมตะลุมพุก อันเกิดจากพายุโซนร้อนแฮเรียต ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์อันน่าโศกเศร้า ยังมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิต และภูมิประเทศ โดยในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตกว่าพันคน!!! หันมาดูในฝั่งกรุงเทพฯ กันบ้าง เมื่อปี 2504 Storm Surge ก็เคยมีปรากฏการณ์เกิดพายุใหญ่ซัดเข้ามาในอ่าวไทย จนเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ เช่นกัน และในปี 2526 ก็เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าฝนพันปี มีน้ำท่วมและขังในพื้นที่นาน ที่สำคัญ การเกิดขึ้นของพายุได้สร้างความเสียหายต่อการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพฯ จนเป็นพื้นที่ที่เรียกว่าทะเลตรม และไม่สามารถป้องกันน้ำทะเลได้ในหลายจุด
รูปแบบการเคลื่อนตัวที่เป็นเหมือนคลื่นขนาดใหญ่ แล้วพัดเข้าชายฝั่งของ Storm Surge เป็นลักษณะเดียวกันกับคลื่นยักษ์สึนามิ แต่แตกต่างกันตรงที่ ลักษณะของการเกิด คือ สึนามิ เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ของแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ซัดเข้าชายฝั่ง แต่กับ Storm surge จะเกิดขึ้นโดยมีตัวแปรจากพายุ












อย่างไรก็ตาม แม้จะเลวร้ายมากกว่า แต่ก็สามารถรับมือได้ดีกว่า เพราะเมื่อ Storm surge เกิด มักจะมาพร้อมกับพายุโซนร้อน ดังนั้น เราจะเห็นสัญญาณเตือนหลายอย่าง เช่น การเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา และจากการสังเกตลักษณะอากาศที่จะค่อยๆ เลวร้ายลง ทำให้เรารู้ตัวล่วงหน้าหลายวัน และสามารถหาทางอพยพได้ทัน แต่กับสึนามิอาจจะไม่รู้ได้เลย เพราะบางครั้งก็เกิดขึ้นในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีสัญญาณบอกเหตุร้ายแต่อย่างใด แต่ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ในช่วงหลายปีมานี้ก็เป็นอะไรที่คาดเดา พยากรณ์ได้ยากเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเกิดภาวะโลกร้อน ที่ทำให้สภาพอากาศในทุกมุมโลกเกิดความแปรปรวน และยิ่งทวีความรุนแรงของเหตุการณ์ขึ้น สิ่งนี้จึงเรื่องที่ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด
Powered By Blogger